* ขอปิดโครงการ เนื่องจากได้เจ้าภาพครบแล้ว

     ขอเชิญทุกท่าน ร่วมกันสร้างหนังสือพระไตรปิฎกพร้อมตู้ไม้สักอย่างดี ถวายให้กับวัดที่ขาดแคลน ในครั้งนี้ทางกองทุนฯ จะนำไปถวายให้แก่ วัดป่าแสง จ.อุบลราชธานี ซึ่งทางวัด ได้แจ้งกับทางกองทุนว่าปัจุบันทางวัดยังไม่มีหนังสือพระไตรปิฎก จึงขอให้ทางกองทุนช่วยหาเจ้าภาพจัดสร้างให้ที เพื่อที่พระสงฆ์จะได้ใช้เป็นตำราในการศึกษาพระพุทธศาสนา โดยจะจัดสร้างเป็นหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 1 ชุด มี 91 เล่ม ราคาเล่มละ 490 บาทtripidok 2016

     พร้อมกันนี้ ก็ขอเชิญทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพถวายพระพุทธชินราช เนื้อทองเหลือง พ่นทอง ขนาดหน้าตัก 29-39 นิ้ว  เป็นเจ้าภาพองค์ละ 25,900 - 45,900 บาท ให้กับวัดป่าแสง จ.อุบลราชธานี ด้วยครับ

     ทุกท่านสามารถร่วมทำบุญได้ไม่จำกัด แล้วแต่กำลังทรัพย์ และกำลังศรัทธา ครับ

tripidok002
tripidok001

     ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพ 1 เล่ม จะจารึกของท่านและครอบครัวไว้ที่หน้าแรกของหนังสือ กำหนดวันนำหนังสือพระไตรปิฎกไปถวายเมื่อได้จำนวนเจ้าภาพครบตามที่ต้องการ ในวันถวาย ท่านสามารถเดินทางมาร่วมทำพิธีถวายได้ครับ

     สามารถร่วมทำบุญจะร่วมทำบุญเป็นเล่มได้ตามกำลังทรัพย์ หรือกำลังศรัทธาของท่าน โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารตามที่แจ้งด้านล่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 089-550-9777 หรือ e-mail : sarakuntho@gmail.com 

ธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)

ชื่อบัญชี "กองทุนจัดสร้างพระไตรปิฎก"

405 - 816933 - 1

(เมื่อโอนปัจจัยมาแล้ว กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ)

รายชื่อผู้ร่วมทำบุญหนังสือพระไตรปิฎก

ลำดับ รายชื่อ จำนวน
  รศ.ดร.ยงยุทธ เพิ่มพูนธนลาภ 2,000.00
  คุณอัจฉราภรณ์ พรหมมินทร์
คุณสุกานดา วิชุมา
980.00
  นายวิษณุ​ หอมทอง 300.00
  นายวทิน ประชุมชน 490.00
  นายวทิน ประชุมชน (ทำบุญเพิ่มเติม)  1,470.00
  นันทน์พัชร์ กระจ่างวัฒนากร 980.00
  นางธัญลักษณ์ จันทร์ขจร 490.00
  น.ส.ณัฐธิชา เต็งการณ์กิจ และครอบครัว 490.00
  วาสนา เพชรงาม
ณัฐชานันท์ พลฤทธิเศรษฐ์ 
490.00
  นางสาวปุณณ์ณัฐฐา บวรธรานันท์
นางพัฒน์ สวัสดิ์สลุง
300.00
  นายณัฐพงค์ โรจน์วิรัตน์ 100.00
  พ.ต.อ. สมปอง คุณชุติปภา ศรีเพ็ชร์ และครอบครัว 490.00
  นางสาวปุณณ์ณัฐฐา บวรธรานันท์
นางพัฒน์ สวัสดิ์สลุง
200.00
  นาย วัชระ  เลิศพีรพันธุ์ 490.00
  นาย วัชระ  เลิศพีรพันธุ์ (ทำเพิ่มเติม) 490.00
  ปัญฑารีย์ แก้ววิโรจน์ธแก่และครอบครัว 490.00
  คุณยุพา ลิขิตชัยศิลป์ และคณะ 10 เล่ม  4,900.00
  นางสุจิตร์ นางสาว สุมิตรา สิริธุระ นายเพ่ง แซ่เจื้อง 490.00
  คุณวีกิจ จิรวิจิตร 490.00
  ธนชาต ธนาพาณิชยากร 500.00
  นางสาววิลาสินี ปานรักษา  5 เล่ม   2,450.00
  นางพิมพกานต์ ลิ้มรุ่งเรือง 200.00
  วิสาขา โกห์ 100.00
  นางสาว ธันยชนก ภู่ผลทาน 1,000.00
  นายวัชระ  เลิศพีรพันธุ์ (ทำบุญเพิ่มเติม) 490.00
  นางสาวกนิษฐภัทณดา อินทรวิรัตน์ และครอบครัว 490.00
  นาย วัชระ  เลิศพีรพันธุ์ ทำเพิ่มอีก 1 เล่ม 490.00
  กมลวรรณ์ วงษ์ธนวัชร์
ธฤติมัต ถิรนัยสกุล 1 เล่ม 490 บาท
490.00
  นายเจษฎา รุจิสมนภาและครอบครัว 100.00
  นางสาวอมรา เจริญรัตนาภิรมย์ และครอบครัว 3 เล่ม  1,470.00
  น.ส. ชนาภา รอดงามพงศ์
นาง ฐิติรัตน์ เวศวิฑูรย์
นาย พงศ์กิตติ์ รอดงามพงศ์ 9 เล่ม 
4,410.00
  นางกมลวรรณ ตะสาริกา
นายเสกสรร ตะสาริกา
ด.ญ.สโรฌา ตะสาริกา
ด.ช.สิริฒิกมล ตะสาริกา
(พร้อมทั้งครอบครัว) 5 เล่ม 
2,450.00
  คุณธัญอร ชูรัตน์ - นายเหรียญชัย ลิขิตพฤกษ์ 490 บาท 490.00
  คุณธัญอร - คุณธนากร ชูรัตน์ 490 บาท 490.00
  ณัฐชัย วรุตมะกุล 490 บาท 490.00
  พ.อ.อ. ชะโล เสนาะล้ำ และครอบครัว
นายทัศนัย ไม้แป้น และครอบครัว 490 บาท
490.00
  ชูกิจ  ธนเศรษฐวัฒน์ 80.00
     

 

รายชื่อผู้ร่วมทำบุญสร้างพระพุทธชินราช

ลำดับ รายชื่อ จำนวน
  คุณอัจฉราภรณ์ พรหมมินทร์ 500.00
  ธัญญากิตติ์ มหามงคล 200.00
  ด.ญ ปรวี โชคครรชิตไชย 300.00
  นพ.สุรชัย โชคครรชิตไชย 700.00
  นันทน์พัชร์ กระจ่างวัฒนากร สร้างพระพุทธชินราช  1,000.00
  สรนีย์ มณีน้อย 2,000.00
  ปิยะวดี มณีน้อย 3,000.00
  พัทธนันท์ ทาษี 490.00
  วิยะดา แซ่โค้ว และ ครอบครัว  2,000.00
     
     
     

 

อานิสงส์ของการสร้างพระไตรปิฎก

     สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารในเมืองสาวัตถี อันเป็นอารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ครั้งนั้นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรเจ้าผู้มีอายุ ปรา ถนาจะให้พระพิชิตมารโปรดประทานซึ่งพระธรรมเทศนา แสดงอานิสงส์ในการที่บุคคลที่ได้สร้างพระไตรปิฎก ใว้ในพระบวรพุทธศานาให้พิศดาร เพื่อสาธุชนทั้งปวงให้ถึงปสันนาการเลื่อมใส อุตสาหะสร้างพระไตรปิฎก
อันเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระบวรศาสนา จึงได้เข้าไปทูลถามปัณหาว่า

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ บุคคลใดผู้มีจิตใจประกอบด้วยศรัทธา ได้สร้างพระไตรปิฎกถวายในพระพุทธศานาแล้ว จักได้รับผลานิสงส์เป็นประการใด

ขอได้โปรดชี้แจงอานิสงส์แห่งบุญ ของบุคคลผู้สร้างพระไตรปิฎกให้แก่หม่อมฉันได้สดับรับฟัง ณ กาลบัดนี้เถิดพระพุทธเจ้าข้า" ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีพุทธฎีกาตรัสว่า

"ดูก่อนสา รีบุตร อันบุคคลผู้ใดสร้างพระไตรปิฎกถวายไว้ในศาสนานี้ ย่อมได้อานิสงส์เป็นอันมาก สุดจะนับได้ทั้งสิ้นเล่า เฉพาะอานิสงส์แห่งอักขระตัวเดียว ก็จะนับประมาณมิได้
สารีบุตรผลานิสงส์แห่งบุคคลผู้ได้สร้างซึ่งอักขระตัวเดียวไว้ในศาสนานี้ ก็ให้ผลยังตนให้ประสบสุขสิ้นกาลช้านานคือ

  • จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นเวลานานถึง ๘๔,๐๐๐ กัปล์
  • จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินในประเทศราชเป็นเวลาช้านานถึง ๙ อสงไขย
  • จะได้เสวยสมบัติในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เป็นพราหมจารย์ มีปัญญามาก มีสมบัติมหาศาลเป็นเวลา ๙ อสงไขย
  • จะได้เป็นมหาเศรษฐีผู้ใหญ่มีสมบัติมากเป็ยเวลา ๙ อสงไขย
  • และได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวดี เหล่านี้ชั้นละ ๙ อสงไขย เป็นกำหนด

     ครั้นจุติจากเทวโลกแล้ว ก็จะลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก จะได้เป็นคนมีทรัพยนับวิชา มากด้วยสมบัติศฤงคารบริวาร จะได้เป็นคนมี สัตย์ ยินดีอยู่ในการบำเพ็ญกุศล

     จะได้เป็นคนมีรูปโฉมงดงาม มีน้ำใจโอบอ้อมอารีแก่ชนทั่วไป จะบริบูรณ์พูนเกิดไม่รู้จักบกพร่อง ทั้งนี้เพราะอานิสงส์แห่งอักษรตัวเดียว ของบุคคลผู้สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระศาสนา

     การที่กำหนดอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎกนั้นเป็นอาจินไตย ฯ สา รีบุตรเอย เมื่อครั้งพระศานาพระปุราณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้นคถาคตยังเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของสมเด็จบรมกษัตริย์ ผู้เป็นพุทธบิดาแห่งพระปุราณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า คถาคตได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระศาสนา

     ณ กาล ครั้งนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า "ในอนาคตอำมาตย์นี้จักได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า สมณโคดม สมด้วยพระนามของคถาคตในกาลบัดนี้ฯ "

     อนึ่งได้ทรงพยากรณ์ว่า "พระพุทธมารดาแห่งคถาคตนี้ จักทรงมีพระนามว่า สิริมหามายาราชเทวี พระพุทธบิดาจักทรงพระนามว่า สิริสุทโธทนมหาราช ทรง พยากรณ์ต่อไปว่า "เมื่อคถาคตได้ตรัสรู้แล้ว จะทรงทรงมีพระชนม์ ๘๐ พรรษา แล้วจะดับขันธ์หันพระพักตร์เข้าสู่พระปรินิพพาน จะทรงประทานพระศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา"

     ก็สมด้วยพระพุทธฎีกาสิ้นด้วยประการฉะนี้ฯ ครั้นตรัสแสดงอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎกแก่พระสารีบุตรดังนี้

     ต่อมาพระองค์ได้ตรัสเทศนาแสดงอานิสงส์แห่งการสร้างพระไตรปิฎก แต่พระเจ้าประเสนทิโกสนราชว่า "บุคคลได้สร้างพระไตรปิฎกโดยเขียนเองก็ดี จ้างคนอื่นเขียนก็ดี จะมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ ให้ สำเร็จปราถนาทุกประการ ให้สำเร็จสมบัติทั้ง ๓ ประการคือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ อักขระแต่ละตัว มีอานิสงส์เท่ากับการสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง อักขระที่จารึกพระไตรปิฎก ยังประดษฐานอยู่ตราบใดก็ชื่อว่าพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ตราบนั้นฯ"

     อันพระไตรปิฎกนี้จัดเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระศาสนา ดังนั้นผู้สร้างพระไตรปิฎกจึงมีผลานิสงส์มาก พระสารีบุตรเถรเจ้ามีปัญญามากก็เพราะอานิสงส์ที่ได้สร้างพระไตรปิฎกแล

     ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ พระสารีบุตรเกิดเป็น สุชาตมานพ มีภรรยาชื่อนางนันทา มีบุตรคนหนึ่งชื่อชื่อคันธกุมาร มีใจเลื่อมใสศรัทธาใคร่สร้างพระไตรปิฎกไว้ในพระพุทธศาสนา ให้ พระพระสังฆเถร เขียนพระไตรปิฎกไม่ปรากฎจำนวนเพราะไม่มีปรากฏในบาลี ครั้นพระเถรเจ้าเขียนเสร็จแล้ว สุชาตก็ได้ลงรักปิดทองเอาผ้าห่มของตนเป็นผ้าห่อคัมภีร์ ใช้ด้ายทำสายรัด และเก็บไว้ภายในหอไตรให้ทาส ๔ คนเป็นพนักงานเฝ้ารักษาเป็นประจำเสมอมา

     ครั้นต่อมากาลนานมา สองสามีภรรยาก็ได้ตายไป เสวยสมบัติอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ในวิมานทองสูง ๕ โยชน์ แวดล้อมด้วยนางอัปสร ๑,๐๐๐ นาง เต็มด้วยอิฏฐารมณ์มากมายหลายประการฯ

     เมื่อเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต คิดเป็นเวลาในมนุษย์ ๗๕ โกฏิ ๖๐ แสนปี แล้วจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต ขึ้นไปเสวยทิพย์สมบัติอยู่ในฉกามาพจรสวรรค์ถึง ๓ ครั้ง ครั้นในภัทรกัปรนี้ สองสามีภรรยาก็ได้มาเกิดเป็นพระเจ้า จักรพรรดิราช สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ ช้างแก้ว ม้าแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว ดวงแก้วมณีโชติ จักรแก้ว นางแก้ว นางแก้วก็คือนางนันทา ผู้เคยเป็นภรรยาในอดีตนั้นเองฯ

     นอกจากนี้อานิสงส์ที่ได้ปิดทองพระคัมภีร์นั้น ย่อมตกแต่งให้มีผิวพรรณดั่งทองคำธรรมชาติฯ ผลที่ได้เอาผ้าห่มห่อคัมภีร์ได้บัลดารให้คลังอันเต็มไปด้วยผ้า ๘๔,๐๐๐ คลัง ผ้าแต่ละผืนล้วนแต่มีราคาแพงๆทั้งนั้นฯ

     อานิสงส์ที่ได้ใช้ด้ายรัดคัมภีร์ได้ทำให้สมบัติทั้งปวงถาวรมั่นคง ไม่มีการเสื่อมสูญหายด้วยอันตรายใดๆทั้งสิ้น

     อานิสงส์ที่ได้ทำตู้และหีบใส่พระไตรปิฎกนั้นได้ตกแต่งให้เป็นบรมจักพรรดิ สมบูรณ์ด้วยปรางค์ปราสาทแก้วถึง ๘๔,๐๐๐ ปรางค์ ล้วนทำด้วยแก้วประกาฬ แก้วลาย แก้วผลึก และแก้วอินทนิน นับเงินและทองเข้าด้วย จึงเป็นรัตนทั้ง ๗ ประการฉะนี้ฯ

     ด้วยอานิสงส์ที่มณฑปหอไตร ได้บันดาลให้อาชญาแผ่ไปทั่วในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวารฯ

     ด้วยอานิสงส์ที่ให้ทาสทั้ง ๔ อยู่ประจำรักษาหอไตรนั้นก็ตกแต่งให้มีบริวารแวดล้อมอยู่เป็นนิตยกาล

     ครั้นต่อมากาลนานมา พระเจ้าจักรพรรดิราชา ก็ได้ซึ่งความตายตามสภาพของสังขาร แล้วไปเกิดเป็นพระอินทรอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึง จากนั้นก็เกิดเป็นมนุษย์ พบพระศาสนาของพระสมณโคดมบรมครู และได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เลิศด้วยปัญญาแลฯ

     การสร้างพระไตรปิฎกนั้นมีผลานิสงส์สุดที่นับได้ดังที่พระชินศรีตรัสว่า "ผลนั้นไม่มีที่สิ้นสุด จะนับประมาณมิได้ดังนี้ฯ"



share now2

 

office hour2023

line id

จำนวนผู้เยี่ยมชม

วันนี้ 63

เมื่อวานนี้ 246

สัปดาห์นี้ 1066

เดือนนี้ 6997

ทั้งหมด 977431